เมนู

6. สัมปทาสูตร

1

ว่าด้วยสัมปทา 5 ประการ


[46] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ สัทธาสัมปทา 1 สีลสัมปทา 1 สุตสัมปทา 1 จาคสัมปทา 1
ปัญญาสัมปทา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้แล.
จบสัมปทาสูตรที่ 6

7. ธนสูตร

2

ว่าด้วยทรัพย์ 5 ประการ


[47] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ ทรัพย์ คือ ศรัทธา 1 ทรัพย์ คือ ศีล 1 ทรัพย์ คือ สุตะ 1
ทรัพย์ คือ จาคะ 1 ทรัพย์ คือ ปัญญา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์
คือ ศรัทธาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อ
พระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์
คือ ศรัทธา. ก็ทรัพย์ คือ ศีลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ เว้นขาดจากการดื่มสุรา
และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศีล.
1.-2. สูตรที่ 6-7 อรรถกถามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ก็ทรัพย์ คือ สุตะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ สุตะ.
ก็ทรัพย์ คือ จาคะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการ
จำแนกทาน นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ จาคะ. ก็ทรัพย์ คือ ปัญญาเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วย
ปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ปัญญา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ทรัพย์ 5 ประการนี้แล.
ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงาม อันพระอริยะ
ชอบใจ สรรเสริญ มีความเลื่อมใสใน
พระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน
ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะ
เหตุนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อนึกถึงคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบ
ศรัทธา ศีล ปสาทะ และความเห็นธรรม
เนือง ๆ เถิด.

จบธนสูตรที่ 7

8. ฐานสูตร


ว่าด้วยฐานะ 5 ประการ ที่ใคร ๆ ไม่พึงได้


[48] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 5ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่พึงได้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ ฐานะว่า ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ 1 ขอสิ่งที่มี
ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ 1 ขอสิ่งที่มีความตายเป็น
ธรรมดา [ของเรา] อย่าตาย 1 ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา]
อย่าสิ้นไป 1 ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย 1
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อม
แก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมไม่เห็นดังนี้ว่า ไม่
ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น แก่ไป โดยที่แท้ สิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ
ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว
พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็
ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุด
ชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ
แทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน.